วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

นกเป็นสัตว์ปีกที่สามารถบินได้

สัตว์โลกอีกชนิดนึง ที่น่าอิจฉา คือ นก 

นกเป็นสัตว์ปีกที่สามารถบินได้ สามารถอยู่บนท้องฟ้า บนอากาศได้ด้วยตัวมันเอง

เป็นสัตว์ที่ดูอิสระ อยู่รวมกันเป็นฝูง มีบ้านอยู่บนต้นไม้

เวลาที่เรามองดูท้องฟ้า จะรู้สึกสบายตา นั่นยิ่งทำให้ อิจฉานก เข้าไปใหญ่ 

เพราะว่า มันดูอิสระมาก จะบินไปไหนก็ได้ แถมตัวมันเอง สีสันยังสวยงามอีกด้วย

เราจะมาดูนกบางสายพันธุ์ ที่เป็นที่รู้จัก และ พบหาได้ยาก


" อย่างที่เรารู้จักกันดี นกแก้ว เป็นนกที่พูดกับมนุษย์ได้

เป็นสิ่งอัศจรรย์ ที่สัตว์สามารถสื่อสารกับมนุษย์ได้ เราไปดูวิธีการฝึกกัน "


" และไปดู นกพันธุ์หายากที่สุดในโลก ว่านกพวกนั้นอาศัยอยู่ในแถบใด "

วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

นกกะลิง (นกแก้วขนาดใหญ่)

รวมสายพันธุ์นกแก้วที่น่ารัก

นกกะลิง (นกแก้วขนาดใหญ่)

นกกะลิง จัดว่าเป็นนกแก้วอีกสายพันธุ์หนึ่งที่มีขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่แล้วมักพบในทวีปเอเชียแถบแคว้นอัสสัม ปากีสถาน เวียดนาม ลาว จีนตอนใต้ และในประเทศไทย (ส่วนใหญ่พบทางภาคตะวันตกและภาคเหนือ)
นกกะลิง ห้อยหัว
นกกะลิง เป็นนกแก้วที่มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 41 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมีย จะมีลักษณะแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้นคือ ตัวเมียจะไม่มีแถบสีแดงบริเวณไหล่เหมือนตัวผู้ ส่วนลักษณะที่เหมือนกันของนกกะลิงไม่ว่าจะเป็นตัวผู้หรือตัวเมียนั่นก็คือ หัวของนกจะมีสีเทา ปากจะมีสีส้ม บริเวณรอบคอจะมีสีดำ ขนตามลำตัวส่วนใหญ่มีสีเขียวไพล หางคู่กลางยาวเป็นสีฟ้าอมม่วง ตรงปลายหางจะเป็นสีเหลืองอ่อน ขนปลายปีกจะมีสีดำ ขาและนิ้วจะมีสีเขียว ชอบอาศัยอยู่ตามป่าโปร่ง ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ทั้งที่ราบลุ่มและที่เป็นภูเขา มักอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็กๆประมาณ 8 - 10 ตัว หากินเมล็ดพืช ยอดไม้ และผลไม้เป็นอาหาร

พฤติกรรมการผสมพันธุ์ของนกกะลิง

ฤดูผสมพันธุ์ของนกกะลิงจะอยู่ในช่วงปลายฤดูหนาว คือช่วงเดือนธันวาคม-เดือนมีนาคม ชอบทำรังอยู่ตามโพรงไม้ธรรมชาติ สูงจากพื้นประมาณ 6 - 18 เมตร บางครั้งก็แอบอาศัยรังเก่าของนกหัวขวาน หรือนกโพระดกพักอาศัยไปพรางๆก่อน นกกะลิงจะออกไข่ครั้งละ 3 - 5 ฟอง และคู่รักทั้งสอง (ทั้งตัวผู้และตัวเมีย) จะช่วยกันฟักไข่และเลี้ยงลูกนกตัวน้อยให้เจริญเติบต่อไป


ปัจจุบันนนกกะลิง เป็นนกที่พบได้น้อยมากครับ คือจะพบเห็นได้ในบางช่วงเวลาเฉพาะทางภาคเหนือ ภาคตะวันตกตอนเหนือ และบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้น เจ้าตัวจึงถูกจัดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ได้ป้ายอาญาสิทธิ์คุ้มครอง..รอดตัวไปโดยปริยาย

วิธีสอนให้นกแก้วสามารถพูดได้เหมือนคน

วิธีสอนให้นกแก้วสามารถพูดได้เหมือนคน

ฝึกนกแก้ว
ตามตำนานกล่าวว่าเมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ยกทับไปบุกอินเดีย ทรงทอดพระเนตรเห็นนกแก้วเข้า ก็เป็นที่พอพระทัย จังทรงนำนกแก้วกลับยุโรปด้วย หลังจากนั้นไม่นาน นกแก้วก็เป็นที่นิยมกันมาก ด้วยเหตุนี้ในสมัยนั้นนกแก้วจึงมีราคาแพงมาก มีการค้าขายนกแก้วทั่วทั้งในยุโรปและเอเชีย
นกแก้วนอกจากจะเป็นนกที่มีสีสันสวยงาม มีรูปร่างน่ารัก น่าเอ็นดูแล้ว ยังสามารถพูดเลียนแบบเสียงมนุษย์ได้ กล่าวกันว่านกแก้วเป็นนกที่มีความจำดี เรียนรู้ได้เร็ว หากเราพูดอะไรให้ฟังบ่อยๆ ก็สามารถพูดเลียนเสียงได้ แต่การที่เราจะสอนนกแก้วหรือนกขุนทองให้พูดได้นั้น ก่อนอื่นต้องดูที่อายุของนกก่อนเลยครับ เพราะถ้านกแก้วอายุมากเกินไปหรือเกิน 1 ปี การที่จะสอนให้พูดหรือจดจำอะไรเป็นเรื่องยากครับ นกแก้วที่เหมาะจะสอนหรือฝึกให้พูด ควรเป็นนกวัย

2 step ฝึกให้นกแก้วพูดได้

นกแก้ว
อ่อนหรือนกแก้วที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี ในการสอนนกแก้วให้พูดควรฝึกในช่วงเช้า ๆ จะดีมาก โดยเริ่มจาก
- Step แรก สอนนกแก้วให้พูดคำสั้น ๆ คำเดียวก่อน เช่น ทอง..แก้ว..พ่อ..แม่ คุยกับเขาทุกเช้า ทุกวัน นกแก้วก็จะจำคำที่เราสอน นานวันเข้าเมื่อนกแก้วได้ยินบ่อยๆ ก็จะจดจำและเริ่มออกเสียงตาม เลียนแบบเสียงของเรา โดยนกแก้วจะค่อย ๆ หัดเปล่งเสียงออกมาทีละคำสั้นๆ ตามที่เราฝึก และเมื่อเห็นว่านกแก้วสามารถพูดคำสั้นๆที่เราสอนได้ชัดเจนแล้ว ก็เริ่ม..
- Step สอง คือสอนให้นกแก้วหัดพูดคำ ทีละสองคำ เช่น พ่อจ๋า แม่จ๋า ไปไหน เป็นต้น และหากเห็นว่านกแก้วสามารถพูดคำที่เราฝึกได้อย่างคล่องแคล่วแล้ว ก็เพิ่มคำเป็นประโยคไปเรื่อยๆ เช่น พ่อไปไหน แม่ไปไหน หรือ พ่อแม่ไปไหน ใครมาทำไม เป็นต้น โดยค่อยๆเพิ่มคำไปทีละคำ วันละนิดวันละหน่อย เจ้านกแก้วแสนสวยของเราก็พูดได้ปร๋อแล้วครับ

หมายเหตุ
ส่วนความเชื่อของคนสมัยก่อนที่บอกว่า หากอยากให้นกแก้วนกขุนทองพูดได้ ต้องทำอะไรบางอย่างกับนก เช่น นำเหรียญมาขูดที่ลิ้นของนก หรือไม่ก็ให้ตัดลิ้นของนกออกครึ่งหนึ่ง โดยส่วนตัวแล้วผมมองว่าเป็นความเชื่อที่ผิดมากครับ การที่เรานำนกมาขูดลิ้นหรือตัดลิ้นเพื่อที่จะให้นกพูดได้ มันเป็นการทรมานสัตว์อย่างเห็นได้ชัดครับ คือนกแก้วหรือนกขุนทอง เขามีความสามารถในตัวเองอยู่แล้ว เขาสามารถจดจำคำที่เราฝึกได้เอง โดยไม่ต้องไปทรมานให้เขาเจ็บปวด และที่สำคัญเป็นบาปเป็นกรรมติดตัวไปด้วยครับ


นกค็อกคาเทล ( Cockatiel )

นกค็อกคาเทล ( Cockatiel )

นกค็อกคาเทล

    ค็อกคาเทล  เป็นนกแก้วสายพันธุ์เล็ก มีลักษณะเด่นที่หงอน ถิ่นกำเนิดของนกชนิดนี้อยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย มีเสียงที่นุ่มนวล และไม่ชอบส่งเสียงดังครับ แต่หากเป็นเพศผู้จะส่งเสียงร้องเป็นทำนองฟังไพเราะเสนาะหูดีแท้ หากผ่านการฝึกดีๆ บางตัวถึงกับร้องเพลงได้เลยล่ะ  แต่เสียงอาจจะไม่ชัดเจนเหมือนนกแก้วชนิดอื่นเท่าไรนัก ด้วยเสน่ห์และความเชื่อง ด้วยเสียงร้องอันไพเราะเพราะพริ้งของนกชนิดนี้ คนไทยจึงชอบและนิยมเลี้ยงกันอย่างมาก ค็อกคาเทล เป็นนกที่ชอบให้เราจับตัวและลูบหัวอย่างทะนุถนอมเบา ๆ แนะนำให้ซื้อมาเลี้ยงตั้งแต่ลูกนกยังเล็ก จะเชื่องและรักเจ้าของมาก
 
    ค็อกคาเทลที่เลี้ยงในบ้านเราส่วนใหญ่จะมีแก้มสีส้ม-แดง แต่ถ้าเป็นค็อกคาเทลแก้มเหลืองจะหายากมาก หลายคนซื้อพ่อ-พันธุ์มาจากต่างประเทศในราคาหลักหมื่นบาทต่อตัวแต่ยังไม่ประสบความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์ แต่ปัจจุบันประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์ค็อกคาเทล แก้มเหลืองได้แล้ว รูปแบบการเลี้ยงนกค็อกคาเทลนั้นควรจะเลี้ยงในระบบปิดซึ่งทำให้ป้องกันปัญหาเรื่องไข้หวัดนกได้
 
    การพัฒนาสายพันธุ์ค็อกคาเทลในประเทศไทยมีอย่างต่อเนื่องปัจจุบันสายพันธุ์ค็อกคาเทลแก้มเหลืองจะหายากและเป็นที่นิยมส่วนใหญ่จะสั่งนำเข้าจากต่างประเทศ มีเรื่องที่น่ายินดีที่มีคนไทยประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์ค็อกคาเทล แก้ม
เหลืองได้แล้ว
 
    เนื่องจากนิสัยของค็อกคาเทลบางตัวชอบเก็บเปลือกและสิ่งปฏิกูลมากินหรือแทะเล่น คนที่เลี้ยงค็อกคาเทลมากกว่า 5 ตัวต่อกรง ควรจะใช้กรงขนาดใหญ่อย่างน้อยที่สุดขนาดของกรงจะต้องมีความกว้าง 20 นิ้ว และสูง 26 นิ้ว แต่ถ้ามีเนื้อที่และขนาดใหญ่กว่านี้ยิ่งดีจะทำให้นกโผบินได้สะดวกขึ้น ผู้ที่คิดจะเลี้ยงค็อกคาเทลอย่าลืมให้ความสำคัญในเรื่องของอาหารจะต้องยึดอยู่เสมอว่า “ การให้อาหารที่เหมาะสมจะทำให้นกมีสุขภาพร่างกายที่ดีและอายุยืนยาว ”
     การฝึกความเชื่องเบื้องต้น เช่น การมาเกาะที่นิ้วมือให้ป้อนอาหาร บริการเลี้ยงจนลูกนกมีอายุได้ 2-3 เดือน ซึ่งในช่วงอายุนี้นกจะกินอาหารได้เองแล้วเจ้าของมารับลูกนกกลับไปเลี้ยงเองได้แล้วสอนให้หัดพูดและสอนให้เชื่องต่อไป สำหรับกรงที่เหมาะต่อการเลี้ยงค็อกคาเทลถ้าหลีกเลี่ยงได้ไม่ควรใช้กรงที่ทำจากไม้เนื่องจากอายุการใช้งานสั้นและจะเกิดปัญหานกจะกัดแทะไม้ด้วย ควรจะใช้กรงที่ทำจากโลหะหรือโครเมี่ยมง่ายต่อการเก็บรักษาและทำความสะอาด กรงที่ใช้เพาะเลี้ยงต้องมีซี่ตรงพื้นด้านล่างเพื่อให้สิ่งสกปรกหล่นลงไป
 
      นกคอคคาเทลต่างจากนกอื่นๆในตระกูลนกแก้วหรือนกปากขอตรงที่คอคคาเทลไม่มีเม็ดสีฟ้าในขน เราจะพบเม็ดสีในขนนกคอคคาเทลอยู่ 2 กลุ่ม คือ สีโทนเหลืองและส้ม แต่ในนกแก้วปากขอชนิดอื่นจะมีเม็ดสีฟ้าในขน ซึ่งเมื่อใดที่เม็ดสีดำหรือสีน้ำตาลไม่ปรากฎออกมาเม็ดสีฟ้าและเหลืองจะรวมตัวกัน( สีโทนเขียว ) ขึ้นมาแทน เช่น นกแก้ว นกหงส์หยก

หลากลีลา “นกหายากที่สุดในโลก”

   ชมภาพสวยจากเวทีประกวดภาพ นกหายากนานาชาติ ฉลอง “ปีสากลความหลากหลายทางชีวภาพ” ที่เพิ่งผ่านไป โดยภาพชนะเลิศทั้งหมด จะตีพิมพ์ลงหนังสือภาพเผยแพร่ในปี 2012 
      
       การประกวดภาพถ่ายนานาชาติในหัวข้อ “นกหายากที่สุดในโลก” (World's Rarest Birds) นั้นเป็นส่วนหนึ่งกิจกรรมจากโครงการปกป้องการสูญพันธุ์ (Preventing Extinctions Programme) ขององค์กรเบิร์ดไลฟ์อินเตอร์เนชันนัล (BirdLife International) ซึ่งเริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2010 ซึ่งเป็นปีที่สหประชาชาติ (United Nations) กำหนดให้เป็นปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ (International Year of Biodiversity)
      
       ผลการประกวดเพิ่งประกาศผู้ได้รางวัลชนะเลิศในปี 2011 นี้ โดยการแข่งขันแบ่งออกเป็น 3 หมวด คือ ภาพนกชนิดใกล้สูญพันธุ์หรือไม่มีข้อมูลไม่เพียงพอ ภาพนกที่วิกฤตต่อการสูญพันธุ์หรือสูญพันธุ์จากธรรมชาติ และภาพนกอพยพที่วิกฤตต่อการสูญพันธุ์ ทั้งนี้ภาพที่ชนะเลิศทั้งหมดจะตีพิมพ์เป็นสมุดภาพเผยแพร่ในปี 2012 ในชื่อ “เดอะ เวิร์ลดส แรเรสต์ เบิร์ดส” (The World’s Rarest Birds)
      
       สมุดภาพดังกล่าวจะนำเสนอภาพนก 628 ชนิด ซึ่งเป็นนกใกล้สูญพันธุ์ 372 ชนิด นกที่วิกฤตต่อการสูญพันธุ์ 190 ชนิด อีก 4 ชนิดที่มีอยู่ในกรงขังเท่านั้นและอีก 62 ชนิดซึ่งมีข้อมูลไม่เพียงพอ โดยในสมุดภาพดังกล่าวจะระบุข้อมูลสิ่งที่เป็นภัยคุกคามต่อนกเหล่านั้น และวิธีที่เราจะช่วยกันอนุรักษ์ 
หลากลีลา “นกหายากที่สุดในโลก”
ภาพนกช้อนหอยหงอน (Asian crested ibis) หรือ นิปโปเนีย นิปปอน (Nipponia nippon) ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดภาพถ่ายในหมวดนกชนิดใกล้สูญพันธุ์ เมื่อก่อนเคยมีอยู่ทั่วรัสเซีย ญี่ปุ่น และจีน แต่ปัจจุบันประชากรของนกชนิดนี้ได้ลดลงเหลือราว 250 ตัว ในมณฑลส่านซีของจีนเท่านั้น เนชันนัลจีโอกราฟิกอ้างข้อมูลจากเว็บไซต์โครงการนกหายากของโลกว่า ปัจจัยคุกคามนกชนิดนี้อาจมาจากการทำเกษตรกรรม ซึ่งลดปริมาณอาหารของนกชนิดนี้: ภาพโดย เฉวียน หมิน หลี (Quan Min Li)
        
หลากลีลา “นกหายากที่สุดในโลก”
ภาพเป็ดปากยาวข้างลาย (scaly-sided merganser) 2 ตัวขณะแล่นไปแล่นไปบนน้ำ เป็นภาพรองชนะเลิศอันดับ 5 ในหมวดนกชนิดใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งการสูญเสียที่อยู่อาศัยและการล่าอย่างผิดกฎหมายได้ลดประชากรนกชนิดนี้เหลืออยู่ในรัสเซียและจีนเพียงแค่ประมาณ 2,500 ตัว: ภาพโดย มาร์ติน เฮล (Martin Hale)
        
หลากลีลา “นกหายากที่สุดในโลก”
ภาพนกฮูกป่า (forest owlet) ในอินเดียตอนกลาง ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 4 ในหมวดนกที่วิกฤตต่อการสูญพันธุ์หรือสูญพันธุ์จากธรรมชาติ นกชนิดนี้อาศัยอยู่ในป่าซึ่งถูกบุกรุกอย่างหนักจนป่าถูกแบ่งออกเป็นผืนเล็กผืนน้อย และถิ่นที่อยู่ของนกชนิดนี้ยังคงถูกบุกรุกอย่างต่อเนื่อง: ภาพโดย เจย์เอช เค.โจชิ (Jayesh K. Joshi)
        
หลากลีลา “นกหายากที่สุดในโลก”
ภาพนกกระเรียนมงกุฎแดง (Red-crowned crane) เป็นภาพรองชนะเลิศในหมวดนกชนิดใกล้สูญพันธุ์ โดยนกกระเรียนในภาพนี้กำลังแสดงท่าทางเกี้ยวพาราสีระหว่างหาคู่ แม้ว่าประชากรของนกชนิดนี้ในญี่ปุ่นจะยังไม่เปลี่ยนแปลง แต่ประชากรทั่วเอเชียซึ่งเป็นพื้นส่วนใหญ่กำลังลดลงไปตามถิ่นอาศัยที่ลดลง รวมถึงการสูญเสียพื้นที่ชุ่มน้ำไปเพื่อการเกษตรและการพัฒนา: ภาพโดย ฮัวจิน ซัน (Huajin Sun)
        
หลากลีลา “นกหายากที่สุดในโลก”
ภาพนกแก้วท้องส้ม (Orange-Bellied Parrot) ที่ชนะเลิศในหมวดนกอพยพที่วิกฤตต่อการสูญพันธุ์ นกแก้วพันธุ์เล็กชนิดนี้จะผสมพันธุ์เฉพาะทางตะวันตกเฉียงใต้ของทาสมาเนียเท่านั้น จากนั้นจะอพยพไปทางตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลียในช่วงฤดูหนาว ซึ่งถิ่นที่อยู่ระหว่างหนีหนาวของนกชนิดนี้ถูกบุกรุกจากการเกษตรและการพัฒนา ประมาณว่าเหลือนกแก้วท้องส้มอยู่ในธรรมชาติน้อยกว่า 150 ตัว: ภาพโดย เดวิด บอยล์ (David Boyle)
        
หลากลีลา “นกหายากที่สุดในโลก”
ภาพนกแก้วคาคาโป (Kakapo) ซึ่งชนะเลิศการประกวดในหมวดนกที่วิกฤตต่อการสูญพันธุ์หรือสูญพันธุ์จากธรรมชาติ นกแก้วขนาดใหญ่ที่บินไม่ได้นี้พบได้ในนิวซีแลนด์เท่านั้น และเหลืออยู่ในธรรมชาติเพียง 124 ตัว โดยนกชนิดนี้ถูกกำจัดไปอย่างรวดเร็วจากนักล่าที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น แมวป่า เป็นต้น: ภาพโดย เชน แมคอินน์ส (Shane McInnes)
        
หลากลีลา “นกหายากที่สุดในโลก”
ภาพนกฮัมมิงเบิร์ดมรกตฮอนดูรัส (Honduran Emerald) บนกิ่งไม้ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศในหมวดนกที่วิกฤตต่อการสูญพันธุ์หรือสูญพันธุ์จากธรรมชาติ พบนกชนิดนี้ได้เฉพาะในฮอนดูรัส โดยประชากรนกชนิดนี้กำลังลดลงเนื่องจากการสูญเสียถิ่นที่อยู่: ภาพโดย โรเบิร์ต อี.ไฮแมน (Robert E. Hyman )
        
หลากลีลา “นกหายากที่สุดในโลก”
ภาพนกปาลิลา (Palila) ในฮาวาย ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 6 ในหมวดนกที่วิกฤตต่อการสูญพันธุ์หรือสูญพันธุ์จากธรรมชาติ ปัจจัยจากการสูญเสียถิ่นที่อยู่ การล่าโดยสัตว์ตระกูลแมวและความแห้งแล้งนำไปสู่การลดลงของประชากรนกชนิดนี้ในฮาวาย คาดว่าในอีก 14 ปีข้างหน้าจำนวนนกชนิดนี้จะลดลงถึง 97% : ภาพโดย อีริค เอ.แวนเดอร์เวิร์ฟ (Eric A. VanderWerf)
        
หลากลีลา “นกหายากที่สุดในโลก”
ภาพนกโจรสลัดเกาะคริสต์มาส (Christmas Island Frigatebird) ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 ในหมวดนกที่วิกฤตต่อการสูญพันธุ์หรือสูญพันธุ์จากธรรมชาติ โดยพบนกชนิดนี้ได้เฉพาะบนเกาะคริสต์มาส (Christmas Island) ของออสเตรเลีย และนกชนิดกำลังหายไปจากเกาะเนื่องจากการสูญเสียที่อยู่อาศัย การทำเหมืองฟอสเฟต มลพิษทางทะเล การทำประมงเกินขนาด และอีกหลายสาเหตุ: ภาพโดย เดวิด บอยล์ (David Boyle)
        
หลากลีลา “นกหายากที่สุดในโลก”
เป็ดกินปลาบราซิล (Brazilian Merganser) พร้อมกับลูกเป็ดตัวเล็กๆ เป็นภาพที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศในหมวดนกที่วิกฤตต่อการสูญพันธุ์หรือสูญพันธุ์จากธรรมชาติ ซึ่งภาพนี้แสดงถึงความหวังต่อการอยู่รอดของสปีชีส์นี้ และชี้ว่าสถานการณ์ของเป็ดกินปลาบราซิลดีขึ้นกว่าที่คิดไว้: ภาพโดย ซาวิโอ เฟรียร์ บรูโน (Savio Freire Bruno)
        
หลากลีลา “นกหายากที่สุดในโลก”
ภาพนกบัสตาร์ดใหญ่อินเดีย (Great Indian Bustard) ขณะบินได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 4 ในหมวดนกชนิดใกล้สูญพันธุ์หรือไม่มีข้อมูลไม่เพียงพอ ซึ่งการล่าเพื่อเป็นกีฬาและอาหารในอินเดียทำให้นกชนิดนี้เสี่ยงสูญพันธุ์: ภาพโดย ซาบา บาร์คอคซี (Csaba Barkoczi)
        
หลากลีลา “นกหายากที่สุดในโลก”
ภาพ นกฮัมมิงเบิร์ดหางติ่ง (Marvellous Spatuletail) ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 ในหมวดนกชนิดใกล้สูญพันธุ์หรือไม่มีข้อมูลไม่เพียงพอ ประมาณกันว่าเหลือนกชนิดนี้ไม่ถึงพันตัว และการลดลงของประชากรนกสวยงามนี้เป็นผลจากการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อปลูกกัญชา และกาแฟ : ภาพโดย แดเนียล โรสเอนเกรน (Daniel Rosengren) ภาพประกอบทั้งหมดจากเนชันนัลจีโอกราฟิก

ปักษาสวรรค์ ( Birds of Paradise )

ปักษาสวรรค์ ( Birds of Paradise )

ปักษาสวรรค์
 ปักษาสวรรค์
ปัุกษาสวรรค์รูบร้า ( Paradisaea rubra ) กำลังโชว์ขน สองเส้นที่หาง และขนสีแดงสดบริเวณลำตัวและปีก และมันเป็นสัญลักษณ์ของนกในตระกูล Famciful plumage

ปักษาสวรรค์ ปักษาสวรรค์
ปักษาสวรรค์เดคคอร่า ( Paradisaea decora ) กำลังโชว์ขนอย่างอลังการเพื่ออวดสาว แต่นั้นก็ทำให้มันเป็นนกที่ถูกล่าเป็นอันดับต้นๆ เพื่อต้องการเส้นขนของมัน

ปักษาสวรรค์ ปักษาสวรรค์
ปักษาสวรรค์ Astrapia mayeri เป็นปักษาสวรรค์ที่มีขนหางยาวที่สุด ยาวประมาณ 0.3 เมตร ซึ่งมันก็ต้องแลกกับการที่มีหางยาวสวยงาม จะทำให้ตัวเมียสนใจได้มากกว่าตัวผู้ที่หางสั้น กับการที่จะล่าเหยื่อได้ยากขี้นเนื่องจากหางเส้นยาวของมัน

ปักษาสวรรค์ ปักษาสวรรค์
ปักษาสวรรค์รูดอลฟี ( Paradisaea rudolphi ) โดยมากปักษาสวรรค์มักจะร้อง อวดเส้นขนกันเป็นกลุ่มหลายๆ ตัว แต่สำหรับ ปักษาสวรรค์รูดอลฟี สีฟ้าสดใสตัวนี้มักจะอวดขนเพียงตัวเดียว

Birds of Paradise Birds of Paradise
ปักษาสวรรค์ Cicinnurus respublica เมื่อมันพบตัวเมียมันจะร้องเกี้ยว เคาะ และพองแผงหน้าอกออก และสั่นขนหาง

Birds of Paradise Birds of Paradise
รูป ซ้าย ปักษาสวรรค์แคร์รอลอี้ ( Parotia carolae ) เป็น 1 ใน 6 ปักษาสวรรค์ทีมีการเต้นระบำเพื่อเีกี้ยวอาดสาว ตามรูปปักษาสวรรค์แคร์รอลอี้ กำลังโชว์ระบำอวดนกสาว 3 ตัว
รูปขวา ปักษาสวรรค์ Seleucidis melanoleuca ลักษณะเด่นของนกตัวนี้ก็คือตัวผู้จะมีขนหางยาวเป็นเส้นคล้ายเส้นลวด 12 เส้น กำลังโชว์ลีลา และร้องหาคู่บนตอไม้

Birds of Paradise
ปักษาสวรรค์ Cicinnurus regius จุดสังเกตุคือขนอกสีขาว และขาสีฟ้าสด มันเป็นปักษาสวรรค์ที่ตัวเล็กที่สุด

Birds of Paradise
ปักษาสวรรค์ Parotia sefilata จุดเด่นของนกตัวนี้ก็คือขนสีรุ้งที่แผงคอ และขนเนื้อกำมะหยี่สีดำทั้งตัว

Birds of Paradise
ปักษาสวรรค์ Cicinnurus magnificus เป็นนกสายพันธ์อีกาที่สวยงามที่สุดในโลก และเป็นนกสายพันธ์ใหม่ที่พึ่งค้นพบ

Birds of Paradise
ปักษาสวรรค์ Astrapia stephaniae กำลังกินลูกไม้ มันมีขนหางยาวสีดำ หัวสีเขียว และนั้นจุดสังเกตุที่ทำให้สามารถดูมันออกได้ไม่ยาก

Birds of Paradise
ปักษาสวรรค์ Manucodia comrii กำลังป้อนเหยื่อให้ลูก เป็นเรื่องจริงที่ปักษาสวรรค์ทั้งหมดสืบเชื้อสายมาจากอีกา แต่มีเพียงปักษาสวรรค์ Manucodia comrii เท่านั้นที่ยังคงคล้ายอีกาค่อนข้างมาก และทั้งตัวผู้และตัวเมียมีรูปร่างคล้ายกัน ไม่เหมือนปักษาสวรรค์พันธ์อื่นที่ตัวผู้จะมีสีสันสวยงามกว่าตัวเมีย

นกสวรรค์
ปักษาสวรรค์ Pteridophora alberti ขนหงอนที่หัวทำให้มันถูกนำไปทำเครื่องประดับหัวหัวหน้าเผ่าแซกซอนซึ่งแสดง ให้เห็นถึงฐานะ อำนาจของผู้สวมใส่่ ข้อมูลอ้างอิง http://seedang.com/stories/67486