วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

นกกะลิง (นกแก้วขนาดใหญ่)

รวมสายพันธุ์นกแก้วที่น่ารัก

นกกะลิง (นกแก้วขนาดใหญ่)

นกกะลิง จัดว่าเป็นนกแก้วอีกสายพันธุ์หนึ่งที่มีขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่แล้วมักพบในทวีปเอเชียแถบแคว้นอัสสัม ปากีสถาน เวียดนาม ลาว จีนตอนใต้ และในประเทศไทย (ส่วนใหญ่พบทางภาคตะวันตกและภาคเหนือ)
นกกะลิง ห้อยหัว
นกกะลิง เป็นนกแก้วที่มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 41 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมีย จะมีลักษณะแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้นคือ ตัวเมียจะไม่มีแถบสีแดงบริเวณไหล่เหมือนตัวผู้ ส่วนลักษณะที่เหมือนกันของนกกะลิงไม่ว่าจะเป็นตัวผู้หรือตัวเมียนั่นก็คือ หัวของนกจะมีสีเทา ปากจะมีสีส้ม บริเวณรอบคอจะมีสีดำ ขนตามลำตัวส่วนใหญ่มีสีเขียวไพล หางคู่กลางยาวเป็นสีฟ้าอมม่วง ตรงปลายหางจะเป็นสีเหลืองอ่อน ขนปลายปีกจะมีสีดำ ขาและนิ้วจะมีสีเขียว ชอบอาศัยอยู่ตามป่าโปร่ง ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ทั้งที่ราบลุ่มและที่เป็นภูเขา มักอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็กๆประมาณ 8 - 10 ตัว หากินเมล็ดพืช ยอดไม้ และผลไม้เป็นอาหาร

พฤติกรรมการผสมพันธุ์ของนกกะลิง

ฤดูผสมพันธุ์ของนกกะลิงจะอยู่ในช่วงปลายฤดูหนาว คือช่วงเดือนธันวาคม-เดือนมีนาคม ชอบทำรังอยู่ตามโพรงไม้ธรรมชาติ สูงจากพื้นประมาณ 6 - 18 เมตร บางครั้งก็แอบอาศัยรังเก่าของนกหัวขวาน หรือนกโพระดกพักอาศัยไปพรางๆก่อน นกกะลิงจะออกไข่ครั้งละ 3 - 5 ฟอง และคู่รักทั้งสอง (ทั้งตัวผู้และตัวเมีย) จะช่วยกันฟักไข่และเลี้ยงลูกนกตัวน้อยให้เจริญเติบต่อไป


ปัจจุบันนนกกะลิง เป็นนกที่พบได้น้อยมากครับ คือจะพบเห็นได้ในบางช่วงเวลาเฉพาะทางภาคเหนือ ภาคตะวันตกตอนเหนือ และบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้น เจ้าตัวจึงถูกจัดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ได้ป้ายอาญาสิทธิ์คุ้มครอง..รอดตัวไปโดยปริยาย